องค์ประกอบของการใช้งาน CD-ROM ในระบบมัลติมีเดียการใช้งาน CD-ROM เพื่อเป็นสื่อในการบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น จะประกอบไปด้วย
CD-ROM Drive : ทำ หน้าที่เป็นตัวอ่านข้อมูลที่บันทึกในแผ่นซีดีรูปแบบต่าง ๆ โดย ภายในจะมีจานหมุน และหัวอ่านซีดี ที่เป็นตัวส่งแสงเลเซอร์ไปตกกระทบกับข้อมูลในแผ่นซีดี ออกมาตีความเป็นรหัสเลขฐานสอง ในคอมพิวเตอร์
CD-ROM : แผ่นซีดี เป็นแผ่นจานแสงที่มีความจุสูง ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหลายรูปแบบและมาตรฐานการใช้งานที่ต่างกัน
หลักการทำงานของ CD-ROM Driveใช้หลักการสะท้อนของแสงเลเซอร์ โดยตัวเครื่องขับซีดีจะมีตัวยิงลำแสงผ่าน Laser Diode ผ่านแท่งปริซึมไปยังพื้นผิวของแผ่นซีดี ซึ่งมีลักษณะไม่เท่ากันเป็นแบบราบ (Land) หรือเป็นหลุม (Pitch) ถ้าลำแสงตกกระทบยังส่วนที่แบบราบ (Land) แสงจะสะท้อนกลับออกมาตกกระทบกับอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่า Photo Detector ในหัวอ่านเลนส์ ต่างกับเมื่อแสงตกกระทบกับหลุม(Pitch) นั้น แสงจะไม่สะท้อนกลับออกมา นำไปแปลงป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบสถานะว่าเป็นค่า 0 หรือ 1 ในทางดิจิตอล ทำให้เราทราบข้อมูลว่าเป็นเช่นไร
แผ่นซีดีรอมเป็นแผ่นจานกลมบาง ทำจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต(Poly Carbonate) เพื่อให้เป็นผิวหน้ามันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียวกัน (Single Track) ขดเป็นวงรอบแบบเป็นเกลียว (Spiral) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร มีความจุข้อมูลที่เป็นคอมพิวเตอร์ที่ 650 MB ที่ พื้นผิวของแผ่นซีดี จะมีร่องที่แสดงถึงข้อมูล ที่บันทึกอยู่ภายใน แผ่นซีดีรอม เป็นแบบอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวนั่นหมายความว่าเราไม่สามารถแก้ไขข้อมูลที่ บันทึกอยู่ภายในได้
ประเภทของซีดี ตามรูปแบบการใช้งานมีดังนี้
Audio CD : ซีดีเพลง เป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลเพลงลงบนสื่อที่เป็นแผ่นจานแสง โดยใช้การสุ่มเสียงเพลง(Sampling) สามารถบันทึกเสียงเพลงทั้งสิ้น 74 นาที
VCD (Video CD) : เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลวิดีโอที่เป็นภาพเคลื่อนไหว ที่บีบอัดด้วยเทคโนโลยีแบบ MPEG-1 เป็นมาตรฐานการแสดงผลวิดีโอที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างดี
CD-ROM : เป็น แผ่นที่บันทึกได้ครั้งเดียวแต่อ่านได้หลายครั้ง ในการบันทึกจะใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านพื้นผิวซีดี โดยจะมีความจุสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 650 ล้านไบต์
CD-I (Interactive) : เป็นการนำสื่อแบบมัลติมีเดียทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นข้อความ, รูปภาพ, เสียง และภาพเคลื่อนไหว มารวมกัน เป็นซีดีแบบที่สามารถโต้ตอบกันได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรในปัจจุบัน
CD-R (CD-Recordable) : เป็นแผ่นที่บันทึกได้หลายครั้งและนำเอามาอ่านได้หลายครั้งเช่นเดียวกัน แผ่น CD-R เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกได้ตั้งแต่ 1 ครั้งจนถึงมากสุด 99 ครั้ง โดยการบันทึกข้อมูลใหม่ต่อจากข้อมูลเก่าไปเรื่อยๆจนเต็มแผ่น แต่เราไม่อาจลบหรือบันทึกข้อมูลใหม่ทับบนข้อมูลเดิมที่บันทึกไปแล้วได้
CD-RW (CD-Rewritable) : เป็น แผ่นที่ต่างจากแผ่นซีดีทั่วไป คือ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลลงแผ่นแล้วผู้ใช้สามารถลบหรือบันทึกทับข้อมูลเดิมได้ หลายครั้ง โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารที่เคลือบอยู่บนพื้นผิว
2. ดีวีดี (DVD: Digital Video Disk) ดีวีดี(Digital Video Disk: DVD) เป็น แผ่นจานแสงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความจุใน การเก็บข้อมูลแบบดิจิตอล ได้สูงกว่าแผ่นซีดี เป็นจำนวนมาก หลักการของแผ่นดีวีดีนั้น ใช้หลักการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบกับพื้นผิวของจานแสงเหมือนกับแผ่นซีดี แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่แสงเลเซอร์ของแผ่นดีวีดี นั้นมีขนาดที่เล็กกว่าลำแสงของแผ่นซีดี ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลลงไปภายในได้มากกว่า โดยมีความจุเริ่มต้นที่ 4.7 พันล้านไบต์ (Giga Bytes: GB) ต่างกับแผ่นซีดีที่มีความจุสูงสุดเพียง 650 MB เท่านั้น
คุณสมบัติของแผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดี ถูกออกแบบมาให้เป็นสื่อที่สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ โดยมีส่วนที่เป็นข้อดีคือ
· Capacity : เป็นสื่อที่มีความจุสูงมาก เริ่มต้นที่ 4.7 GB ( ประมาณ 7 เท่าเมื่อเทียบกับแผ่นซีดี) และสามารถมีความจุได้สูงสุดที่ 17 GB ในขนาดที่เท่ากับแผ่นซีดีปกติ
· Interoperability : ดี วีดี ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้นำเสนองานมัลติมีเดีย เพื่อความบันเทิง เช่น เครื่องเล่นดีวีดี ตามบ้าน ก็สามารถใช้แผ่นดีวีดี แผ่นเดียวกันได้
· Backward Compatible : เครื่องอ่านแผ่นดีวีดีนั้น สามารถอ่านแผ่นซีดีแบบเดิมได้ นั่นคือ สามารถใช้งานกับแผ่นซีดี อย่างไม่มีปัญหา