Hard Disk คือ อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น Hard Disk จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ เนื่องจาก Hard Disk เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี Hard Disk ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ Hard Disk จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก Hard Disk
ส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ ?
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm )
ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ใน การหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor 2 . หัวอ่าน ( Head )
เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์ จะ นำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการ เหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters )
มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter )
เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส ( Case ) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง
ชนิดของฮาร์ดดิสก์ (Hard Drive Disk)
Hard Disk แบ่งตามชนิดของการเชื่อมต่อ (Interface) ได้ 4 ชนิด คือ
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics) เป็น การเชื่อมต่อแบบเก่า โดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยที่สายแพ 1 เส้น สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว ซึ่งในเมนบอร์ดจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้ว ดังนั้นจึงสามารถเชื่อมต่อฮาร์สดิสก์ได้สูงสุด 4 ตัว ส่วนความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกกะไบต์/วินาที และขนาดความจุแค่ 504 MB.
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)เป็น IDE ชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากแบบเก่า เชื่อมต่อด้วยสายแพขนาด 80 เส้น มีความความเร้วเร็วในการถ่ายโอนมูลเพิ่มขึ้นมาสูงถึง 133 เมกะไบต์/วินาที และมีขนาดความจุมากกว่า 504 MB.
วิธีการรับส่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 โหมด คือ
1) โหมด PIO (Program Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของข้อมูลจาก Hard Disk เข้ามายัง CPU หรือส่งข้อมูลจาก CPU ไปยัง Hard Disk ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk บ่อยครั้ง หรือการทำงานพร้อมกันหลายๆ งาน (Multitasking Environment)
2) โหมด DMA (Direct Memory Access) การรับส่งข้อมุลชนิดนี้ จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องไปติดต่อ CPU ก่อน ทำให้ CPU จัดการงานได้เร็วขึ้น
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface) เป็น Interface ชนิดที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ถึง 7-15 ชิ้น โดยการเชื่อมต่อแบบ SCSI นี้จะมีการ์ดสำหรับการควบคุมโดยเฉพาะ เรียกว่า “การ์ด SCSI” ซึ่งจะต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ โดยที่ SCSI 1 Board สามารถต่อได้ 2 Controller นั่นหมายความว่าจะสามารถต่ออุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 30 ชิ้นเลยทีเดียว ส่วนความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดจะอยู่ที่ 320 เมกะไบต์/วินาที และมีความเร็วในการหมุนของฮาร์สดิสก์ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ดังนั้นจึงเหมาะกับงานด้าน Server มากกว่า
4. แบบ Serial ATA เป็น Interface ที่กำลังนิยมในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA มีอัตราในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกกะไบต์/วินาที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น