วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ใบงานที่8

การแบ่ง Partition เบื้องต้น

    Program ที่ใช้สำหรับแบ่ง Partition มีอยู่หลายตัวมากๆครับ แล้วแต่ว่าใครจะถนัดใช้ตัวไหน ผมเอามาสอนเท่าที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ (ส่วนใหญ่ผมจะใช้จากแผ่น Hiren นะครับ)
            ก่อนจะมารู้จักการใช้โปรแกรมต่างๆ ขออธิบายเรื่องของPartitionซักนิดนึงนะครับ
    การแบ่งPartitionก็คือการแบ่งพื้นที่ HDD ออกเป็นส่วนๆ ตามความต้องการของเราครับ โดยจะมีชื่อเรียกพื้นที่ต่างๆ คือ
  1. Primary จะใช้เก็บ OS หรือ Windows ครับ
  2. Extended เป็นพื้นที่ๆเหลือจาก Primary และจะคลอบคลุมพื้นที่ Logical
  3. Logical จะเป็นพื้นที่ภายใต้ Extended และจะถูกแบ่งออกเป็น Drive ย่อยๆเช่น D:, E:, F:
ประโยชน์ของการแบ่ง Partition ก็เพื่อใช้เก็บข้อมูลสำคัญต่างๆออกจาก OS เพื่อความปลอดภัยจาก virus ได้ในระดับนึงครับ เพื่อให้ง่ายต่อการกู้ข้อมูล และกู้ windows ด้วยครับ
    Program ที่จะใช้สอนมีดังนี้
  1. Norton PartitionMagic Pro Server 8.05
  2. Paragon Partition Manager
  3. Acronis Disk Director Suite
  4. Smart Fdisk 2.05

วิธีการ FORMAT เครื่องคอมพิวเตอร์
1. การ Format ก็คือการลบข้อมูลทั้งหมดใน Partition นั้น ๆ ข้อมูลจะหายไปทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วข้อมุลยังอยู่ เพราะคอมพิวเตอร์แค่ไป mark ไว้เท่านั้นว่าข้อมูลตรงนี้เป็นข้อมูลว่างสามารถใช้งานได้ ทำให้แม้ว่าจะ Format ข้อมูลใน Hard Disk ไปแล้ว ก็ยังมีมือดี (ดีจริงเหรอ) กู้ข้อมูลกลับคืนมาได้
2. จะ Format กี่ครั้งก็ได้ แต่ตามปกติแล้ว จะ Format ก็ต่อเมื่อต้องการติดตั้ง OS ใหม่เป็นเหตุผลหลัก
3. ขั้นตอนการ Format สามารถทำได้ 2 วิธี
   3.1 แบบ Command Prompt มีขั้นตอนดังนี้
         - คลิกที่ Start >> run >> พิมพ์ cmd
         - พิมพ์ format และชื่อ drive เช่น format d:
    3.2 แบบ GUI  มีขั้นตอนดังนี้
         - เปิด My Computer
         - คลิกที่ Drive ที่ต้องการ Format
         - คลิกขวาแล้วเลือก Format
         - เลือกประเภทของ File System ที่ต้องการว่าจะใช้ Fat, Fat32 หรือ NTFS
         - คลิกที่ Start เพื่อเริ่ม Format

หมายเหตุ : กรณีต้องการ Format Drive ที่มี OS เช่น Drive C ควร Format ด้วยแผ่นติดตั้ง Windows จะดีที่สุด >> ตอนลง Windows ที่หน้าจอเลือก Partition เครื่องจะถามเราว่าจะ Format หรือไม่ ก็ให้ Format ไป

ก่อน Format ทุกครั้งอย่าลืม Backup ข้อมูลไว้ด้วยนะครับ ไม่อย่างนั้นคุณอาจต้องเสียเวลา หลายสิบชั่วโมงเพื่อกู้ข้อมูลคืนครับ

ใบงานที่7

Tips And Trick ง่ายๆ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์อืด เร็วขึ้นทันใจ (soft ware)






ปฐมบท
คอมพิวเตอร์เก่า ช้ามากมาย อยากให้เร็วจี๊ดขึ้นทำไงดีหละ แรมก็น้อย ทรัพย์ก็จางอีก ปัญหาประเทศ
หละครับพี่น้องครับ รัฐบาลคงไม่แจกอั่งเปาอิกเป็นแน่แท้ (อันหลังนี่ไม่เกี่ยวกัน 55+ )
วิธีทำไม่ยุ่งยากครับ มีหลายวิธีแต่จะเอาอันง่ายๆ ก่อนก็แล้วกันนะจ๊ะ อะไรเอ่ยที่ทำให้คอมพิวเตอร์คู่ใจเราช้ามาก
มาย มากกว่าเต่าอิกนะ คำตอบคงมีหลายแง่หลายมุมแตกต่างกันไป ทั้งการที่มีโปรแกรมประเภทมัลติมีเดียที่
เยอะรกหูรกตา เต็มหน้าเดสก์ทอป นานๆครั้ง ท่านเจ้าจะคลิกมัน ออกมาใช้ ทั้งที่มี โปรแกรมคู่ใจอยู่แล้ว
ยกตัวอย่าง GOM PLAYER , JET AUDIO, VLC , POWER DVD ,MEDIA PLAYER CLASSIC,WINAMP,WMP
และนา ๆ ต่างๆมากมาย ไม่รู้เหมือนกัน ว่าทำไมร้านคอมจึง ลงให้เราหนักเครื่องมากมายเหลือเกิน ทั้งๆที่
โปรแกรมเดียว อาจ ดู file ต่างๆ ได้ครอบจักรวาล สงสัยคงเป็นการทำตลาด ประเภท เอาจำนวนเข้าว่า
(ใน วิชาการตลาด คงเป็น product marketing 55 บวก เอาเข้าไป)
เอาหละเข้าเนื้อกันเลย พูดมายาวนานจะบอกว่า โปรแกรมมัลติมีเดียนี่ เอาไว้อันที่เราใช้จริงๆ ก็พอ ไม่จำเป็นต้อง
มีเยอะรกหูรกตา รก ฮาร์ดดิสก์ เช่นผม เจ้าประจำดุหนังทุกไฟล์ ตั้งแต่ 3gp ยัน image file คือ VLC ครับ ของเขา
ดีจริง ดูได้ทุกอัน ไฟล์เล็ก คุ้มค่ากับการลงโปรแกรมนี้ ต่อมาก็ GOM PLAYER ครับ เอาไว้ดุหนังประเภท XVID
DVD5 อันที่มี sub ต่างๆ นาๆ แล้วก็โปรแกรมประจำคอม winamp อานะ นอกนั้นก้มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
แต่ความเห็นสว่นตัว vlc กะ วินแอมก้พอละ window media player ไม่ต้องพูดถึงเขาละ ของเขาดีจริง
สรุป โปรแกรมไรไม่ได้ใช้ก็ Remove ซะ หนักเครื่อง คอมพ์ อืดนะจะบอกให้
===============================================================
ทุติยบท




ทำเครื่องให้จี๊ดต่อเลยนะ เข้าเนื้อหาละ บางครั้งเราใช้ เอฟเฟคต่างๆนาๆ กับคอมพิวเตอร์เรามากไปทำ
ให้ ซีพียู แรม การ์ดจอ รับไม่ไหวโดยเฉพาะเครื่องช้าๆนี่แล้วใหญ่ เรามาลดความสิ้นเปลืองกัน โดยการปรับแต่ง
มันสิ ไปกันเลย (รับรอง ไม่พังแน่ๆๆ รับประกัน เพราะว่า เราก็ทำอยู่555 )
ลดความสิ้นเปลืองดดยใช่เหตุ
คลิกขวาที่ My computer > Properties > Advanced
ไปที่ Performance > setting > custom
แล้วก็ติ๊กตามหมายเลข เลยครับ












หากต้องการให้ theme ที่ใช้ เป็น window classic ไม่จำเป็นต้องติ๊ก หมายเลข 10 ครับ หรือ ไม่ต้องติ๊ก ตั้งแต่
6 - 10 ให้ข้ามมาที่ 11 เลย หากคอมพืคอมคุณ เก่าจิงๆ


การแก้ไขปัญหา Hardware


Hard Disk ทำงานช้าจะทำอย่างไร


โดยส่วนมากแล้วสาเหตุจะมาจากพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ไม่มากพอครับ สำหรับผู้ใช้ Window 95 , 98 ควรที่จะมีพื้นที่ว่างเหลืออย่างน้อยที่สุดประมาณ 500 MB การแก้ไขคือ ควรทำ Disk Cleanup (ทำทุกวัน) , Scandisk (ทำทุกวัน) และ Disk Defragment (ทำทุกเดือน)

ใบงานที่5



องค์ประกอบของการใช้งาน CD-ROM ในระบบมัลติมีเดีย

การใช้งาน CD-ROM เพื่อเป็นสื่อในการบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น จะประกอบไปด้วย
CD-ROM Drive : ทำ หน้าที่เป็นตัวอ่านข้อมูลที่บันทึกในแผ่นซีดีรูปแบบต่าง ๆ โดย ภายในจะมีจานหมุน และหัวอ่านซีดี ที่เป็นตัวส่งแสงเลเซอร์ไปตกกระทบกับข้อมูลในแผ่นซีดี ออกมาตีความเป็นรหัสเลขฐานสอง ในคอมพิวเตอร์
CD-ROM : แผ่นซีดี เป็นแผ่นจานแสงที่มีความจุสูง ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหลายรูปแบบและมาตรฐานการใช้งานที่ต่างกัน
หลักการทำงานของ CD-ROM Driveใช้หลักการสะท้อนของแสงเลเซอร์ โดยตัวเครื่องขับซีดีจะมีตัวยิงลำแสงผ่าน Laser Diode ผ่านแท่งปริซึมไปยังพื้นผิวของแผ่นซีดี ซึ่งมีลักษณะไม่เท่ากันเป็นแบบราบ (Land) หรือเป็นหลุม (Pitch) ถ้าลำแสงตกกระทบยังส่วนที่แบบราบ (Land) แสงจะสะท้อนกลับออกมาตกกระทบกับอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่า Photo Detector ในหัวอ่านเลนส์ ต่างกับเมื่อแสงตกกระทบกับหลุม(Pitch) นั้น แสงจะไม่สะท้อนกลับออกมา นำไปแปลงป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบสถานะว่าเป็นค่า 0 หรือ 1 ในทางดิจิตอล ทำให้เราทราบข้อมูลว่าเป็นเช่นไร




แผ่นซีดีรอมเป็นแผ่นจานกลมบาง ทำจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต(Poly Carbonate) เพื่อให้เป็นผิวหน้ามันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียวกัน (Single Track) ขดเป็นวงรอบแบบเป็นเกลียว (Spiral) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร มีความจุข้อมูลที่เป็นคอมพิวเตอร์ที่ 650 MB ที่ พื้นผิวของแผ่นซีดี จะมีร่องที่แสดงถึงข้อมูล ที่บันทึกอยู่ภายใน แผ่นซีดีรอม เป็นแบบอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวนั่นหมายความว่าเราไม่สามารถแก้ไขข้อมูลที่ บันทึกอยู่ภายในได้
ประเภทของซีดี ตามรูปแบบการใช้งานมีดังนี้
Audio CD : ซีดีเพลง เป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลเพลงลงบนสื่อที่เป็นแผ่นจานแสง โดยใช้การสุ่มเสียงเพลง(Sampling) สามารถบันทึกเสียงเพลงทั้งสิ้น 74 นาที
VCD (Video CD) : เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลวิดีโอที่เป็นภาพเคลื่อนไหว ที่บีบอัดด้วยเทคโนโลยีแบบ MPEG-1 เป็นมาตรฐานการแสดงผลวิดีโอที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างดี
CD-ROM : เป็น แผ่นที่บันทึกได้ครั้งเดียวแต่อ่านได้หลายครั้ง ในการบันทึกจะใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านพื้นผิวซีดี โดยจะมีความจุสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 650 ล้านไบต์
CD-I (Interactive) : เป็นการนำสื่อแบบมัลติมีเดียทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นข้อความ, รูปภาพ, เสียง และภาพเคลื่อนไหว มารวมกัน เป็นซีดีแบบที่สามารถโต้ตอบกันได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรในปัจจุบัน
CD-R (CD-Recordable) : เป็นแผ่นที่บันทึกได้หลายครั้งและนำเอามาอ่านได้หลายครั้งเช่นเดียวกัน แผ่น CD-R เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกได้ตั้งแต่ 1 ครั้งจนถึงมากสุด 99 ครั้ง โดยการบันทึกข้อมูลใหม่ต่อจากข้อมูลเก่าไปเรื่อยๆจนเต็มแผ่น แต่เราไม่อาจลบหรือบันทึกข้อมูลใหม่ทับบนข้อมูลเดิมที่บันทึกไปแล้วได้
CD-RW (CD-Rewritable) : เป็น แผ่นที่ต่างจากแผ่นซีดีทั่วไป คือ เมื่อมีการบันทึกข้อมูลลงแผ่นแล้วผู้ใช้สามารถลบหรือบันทึกทับข้อมูลเดิมได้ หลายครั้ง โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารที่เคลือบอยู่บนพื้นผิว 
2. ดีวีดี (DVD: Digital Video Disk) ดีวีดี(Digital Video Disk: DVD) เป็น แผ่นจานแสงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความจุใน การเก็บข้อมูลแบบดิจิตอล ได้สูงกว่าแผ่นซีดี เป็นจำนวนมาก หลักการของแผ่นดีวีดีนั้น ใช้หลักการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบกับพื้นผิวของจานแสงเหมือนกับแผ่นซีดี แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่แสงเลเซอร์ของแผ่นดีวีดี นั้นมีขนาดที่เล็กกว่าลำแสงของแผ่นซีดี ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลลงไปภายในได้มากกว่า โดยมีความจุเริ่มต้นที่ 4.7 พันล้านไบต์ (Giga Bytes: GB) ต่างกับแผ่นซีดีที่มีความจุสูงสุดเพียง 650 MB เท่านั้น 


  





 คุณสมบัติของแผ่นดีวีดี
แผ่นดีวีดี ถูกออกแบบมาให้เป็นสื่อที่สามารถบันทึกข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ โดยมีส่วนที่เป็นข้อดีคือ
· Capacity : เป็นสื่อที่มีความจุสูงมาก เริ่มต้นที่ 4.7 GB ( ประมาณ 7 เท่าเมื่อเทียบกับแผ่นซีดี) และสามารถมีความจุได้สูงสุดที่ 17 GB ในขนาดที่เท่ากับแผ่นซีดีปกติ
· Interoperability : ดี วีดี ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้นำเสนองานมัลติมีเดีย เพื่อความบันเทิง เช่น เครื่องเล่นดีวีดี ตามบ้าน ก็สามารถใช้แผ่นดีวีดี แผ่นเดียวกันได้
· Backward Compatible : เครื่องอ่านแผ่นดีวีดีนั้น สามารถอ่านแผ่นซีดีแบบเดิมได้ นั่นคือ สามารถใช้งานกับแผ่นซีดี อย่างไม่มีปัญหา

ใบงานที่4


ฮาร์ดดิสก์ Harddisk ?
Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk

ส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ ?

1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm )
ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ใน การหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor

2 . หัวอ่าน ( Head )
เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะ นำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการ เหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น

3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters )
มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน

4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter )
เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

5. เคส ( Case )
มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออ

ชนิดของฮาร์ดดิสก์ (Hard Drive Disk)
     
Hard Disk แบ่งตามชนิดของการเชื่อมต่อ (Interface) ได้ 4 ชนิด คือ

1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics) เป็น การเชื่อมต่อแบบเก่า โดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยที่สายแพ 1 เส้น สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว ซึ่งในเมนบอร์ดจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้ว ดังนั้นจึงสามารถเชื่อมต่อฮาร์สดิสก์ได้สูงสุด 4 ตัว ส่วนความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกกะไบต์/วินาที และขนาดความจุแค่ 504 MB.

2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)เป็น IDE ชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากแบบเก่า เชื่อมต่อด้วยสายแพขนาด 80 เส้น มีความความเร้วเร็วในการถ่ายโอนมูลเพิ่มขึ้นมาสูงถึง 133 เมกะไบต์/วินาที และมีขนาดความจุมากกว่า 504 MB.
วิธีการรับส่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 โหมด คือ
1) โหมด PIO (Program Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของข้อมูลจาก Hard Disk เข้ามายัง CPU หรือส่งข้อมูลจาก CPU ไปยัง Hard Disk ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk บ่อยครั้ง หรือการทำงานพร้อมกันหลายๆ งาน (Multitasking Environment)
2) โหมด DMA (Direct Memory Access) การรับส่งข้อมุลชนิดนี้ จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องไปติดต่อ CPU ก่อน ทำให้ CPU จัดการงานได้เร็วขึ้น


3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface) เป็น Interface ชนิดที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ถึง 7-15 ชิ้น โดยการเชื่อมต่อแบบ SCSI นี้จะมีการ์ดสำหรับการควบคุมโดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI” ซึ่งจะต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ โดยที่ SCSI 1 Board สามารถต่อได้ 2 Controller นั่นหมายความว่าจะสามารถต่ออุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 30 ชิ้นเลยทีเดียว ส่วนความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดจะอยู่ที่ 320 เมกะไบต์/วินาที และมีความเร็วในการหมุนของฮาร์สดิสก์ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ดังนั้นจึงเหมาะกับงานด้าน Server มากกว่า


4. แบบ Serial ATA เป็น Interface ที่กำลังนิยมในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA มีอัตราในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกกะไบต์/วินาที